เว็บซื้อขายรถบรรทุกมือสอง
www.truck1sell.com
หน้าแรก || ขายรถ || ซื้อรถ || เต็นท์สมาชิก || ซื้อขายสินค้า || เกี่ยวกับเรา || การชำระเงิน || ติดต่อเรา
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
 
สมัครสมาชิก คลิกที่นี่
ลืมรหัสผ่าน
เทคนิคการดูแลรักษารถยนต์...
เทคนิคการดูแลรถและถนอมเครื่...
ยางกับการจอด...
คนเข้าใจรถ หรือ รถเข้าใจคน ...
ลักษณะของการเข้าจอด...
ทำไม แบตเตอรี่มีอายุการใช้ง...
กฏเหล็กในการซื้อรถมือสอง...
การดูแลรักษารถเบื้องต้น...
การเลือกซื้อรถมือสอง...
4 คำถามต้องรู้… ก่อนคิดซ่อม...
อ่านต่อ...
สมาชิกเต็นท์รถเข้าสู่ระบบ คลิกที่นี่
สมัครสมาชิกเต็นท์รถ คลิกที่นี่



LINE ID 4423033  0807964423
 
เทคนิคการดูแลรักษารถยนต์
เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2566 อ่าน 1586 ครั้ง

Car11. เติมน้ำมันล้นถังไม่เป็นผลดี
     ในสภาพอากาศร้อนจัดอย่าเติมน้ำมันจนล้นถัง เพราะความร้อนจะทำให้เพิ่มความดัน มีผลทำให้น้ำมันขยายตัวลื่นไหลออกจากถังเกิดอันตราย สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
2. ลากเกียร์ทำให้คลัตช์เสียเร็ว
     การใช้เกียร์ควรทำให้เหมาะสมและถูกจังหวะ อย่าลากเกียร์บ่อย จะทำให้คลัทช์เสียเร็วและยางหมดอายุเร็วขึ้น

3. อย่าขับรถจนน้ำมันหมดถัง
    การขับรถจนน้ำหมดถัง จะทำให้เครื่องกรองน้ำมันมีโอกาสเสียได้มาก เนื่องจากตะกอนบางอย่างที่สะสมอยู่ในถังจะไปค้างที่เครื่องกรอง
4. อย่าใช้อิฐแทนแม่แรงรถ
    อิฐสร้างบ้านก้อนที่แข็งที่สุดยังสามารถแตกได้ อย่าใช้รองหรือหนุนรถแทนแม่แรงต่างหาก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
5. ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดกระจก
    แอลกอฮอล์มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อโรคและยังใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เป็นแก้วหรือกระจกได้ กระจกรถของคุณที่มีคราบสกปรก จะถูกขจัดได้อย่างง่ายดายด้วยแอลกอฮอล์
6. สำรวจกระจกอย่าให้มีรอยร้าว
    รอยร้าวที่กระจกเพียงเล็กน้อย จะทำให้ขยายวงกว้างไปสู่การแตกใหญ่ได้ต้องหมั่นสำรวจอยู่เสมอ การเปิดแอร์เย็นจัดในขณะอากาศภายนอกร้อนจะทำให้กระจกหดตัวอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุให้เกิดการแตกของกระจกได้
7. เครื่องเป่าผมก็มีประโยชน์
    รถที่สตาร์ทไม่ติดอันเนื่องมาจากปัญหาความชื้นลองใช้เครื่องเป่าผมเป่าความร้อนบริเวณเครื่องยนต์ที่คิดว่ามีความชื้นจนกว่าจะแห้ง แล้วลองสตาร์ทใหม่ดูอีกครั้ง
8. การควบคุมอารมณ์
    การขับรถจำเป็นที่จะต้องควบคุมอารมณ์ด้วยความอดทนยิ่งในสภาพรถติดแสนสาหัส แบบบ้านเรายิ่งต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่สวมวิญญาณร้ายขณะขับรถ ไม่ใช้วาจาหยาบคาย และอย่าพยายามสั่งสอนบทเรียนต่อผู้อื่น
9. โกรธและหงุดหงิดอย่าขับรถเด็ดขาด
    อารมณ์โกรธและหงุดหงิด มีผลเสียอย่างยิ่งต่อการใช้รถใช้ถนน ความกดดันทางอารมณ์จะทำให้มีผลต่อเนื่องไปยังผู้ขับขี่รถคนอื่น และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงได้
10. อย่าตอบโต้กับผู้ขับขี่รายอื่น
    หากคุณอารมณ์เสียเนื่องจากผู้ขับขี่รถคันอื่น ต้องพยายามเก็บกดอารมณ์ไม่ตอบโต้ การตอบโต้จะทำให้เกิดผลร้ายต่อเนื่อง อย่างน้อยจะทำให้เราขาดสมาธิขาดการสังเกต สุดท้ายก็ลงเอยด้วยอุบัติเหตุ เป็นไปได้น่าจะจอดรถสงบสติอารมณ์สักครู่
11. หลีกเลี่ยงการเดินทางในสภาพอากาศเลวร้าย
    เรามั่นใจแค่ไหนในการขับขี่รถในสภาพอากาศที่เลวร้าย เช่น ฝนตกหนัก หมอกลงจัด ทางที่ดีควรจะงดการขับรถ หันไปใช้บริการของรถสาธารณะจะดีกว่า ทั้งนี้ต้องติดตามการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยา
12. การปรับพวงมาลัย
    รถรุ่นใหม่สามารถปรับแกนพวงมาลัยให้เข้ากับสภาวะร่างกายของผู้ขับขี่ได้ อย่าปรับให้พวงมาลัยอยู่ในตำแหน่งที่มองแผงหน้าปัดยาก ล็อคแกนพวงมาลัยให้มั่นคงหลังจากปรับตำแหน่งจนได้ที่แล้ว ห้ามปรับพวงมาลัยในขณะรถเคลื่อนที่เด็ดขาด
13. เกียร์สูงสุด
    เป็นเกียร์ที่ใช้กับอัตราเร็วสูง แต่ให้กำลังน้อยที่สุดเราจะใช้เกียร์สูงสุดกับอัตราเร็วของรถยนต์ที่แตกต่างกันได้มา คุณสามารถใช้แล่นด้วยความเร็วคงที่บนถนนทางตรง
14. อย่าให้ไฟดวงหนึ่งดวงใดขาด
    การใช้สัญญาณไฟจะทำให้รถคันอื่นที่ตามหลัง หรือสวนทางเข้าใจในเจตนาของเรา แต่หากไฟสัญญาณดวงหนึ่งดวงใดขาดไป จะทำให้เป็นอันตรายแก่การใช้รถใช้ถนน ควรตรวจสอบและหาฟิวส์ หรือไฟอะไหล่ไว้ในรถบ้าง
15. ไฟเตือนภัยมีความสำคัญ
    อย่าขับรถยนต์ออกไปเด็ดขาด กรณีที่มีการเตือนของไฟบนแผงหน้าปัดขึ้น เช่น ไฟเตือนความดันน้ำมันหล่อลื่น เพราะจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
16. กระพริบไฟหน้าแทนแตร
    การใช้ไฟสูง-ต่ำของไฟหน้า ทำให้เกิดการกระพริบสามารถเตือนผู้ขับขี่รายอื่นด้วย ที่คาดว่าจะไม่ได้ยินเสีสยแตรจากรถของเรา
17. อย่าปล่อยเกียร์ว่างให้รถเคลื่อนลงทางลาดเองไม่ถูกต้อง
    การปล่อยให้รถไหลไปเองโดยไม่ใช้การขับเคลื่อนจะทำให้ควบคุมรถยนต์ยาก โดยเฉพาะพวงมาลัยและเบรคเกียร์จะเข้ายากขึ้นอีกด้วย
18. ลดเกียร์ไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ
    การลดลงเกียร์ต่ำไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ เช่น จากเกียร์ห้ามาเกียร์สาม จากเกียร์สามมาเกียร์หนึ่ง เช่นนี้ จะทำให้เรามีเวลามองถนน และจับพวงมาลัยได้นานขึ้น
19. ใกล้ทางแยกอย่าเปลี่ยนเลนกะทันหัน
    ต้องตัดสินใจให้ดีว่าคุณกำลังจะไปทางไหน ซ้าย-ขวา หรือตรง อย่าตัดเลนซ้ายมาขวา หรือขวามาซ้าย บริเวณใกล้ทางแยกจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือไม่ก็ถูกตำรวจจับแน่นอน
20. จะไม่มีการชนท้ายรถคนอื่นเด็ดขาด
    ไม่ขับชิดคันหน้าเกินไปหรือกะระยะการทำงานของเบรคได้ถูกต้อง
21. สิ่งกีดขวางกลางถนน
    บังเอิญสิ่งกีดขวางอยู่ในช่องจราจรของเรา ตามหลักเราต้องให้รถยนต์วิ่งสวนทางมาผ่านไปก่อน กรณีสิ่งกีดขวางอยู่ฝังตรงข้ามอย่าผลีผลามเหยียบคันเร่งเลยไป เพราะรถคันสวนทางเราอาจไมยอมหยุดรถและหลบสิ่งกีดขวางออกมาในเลนของเราหน้าตาเฉย
22. สิ่งกีดขวางอยู่บนเนิน
    นับว่าเป็นเรื่องท้าทายให้ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ การใช้เบรคจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาจัดการแก้ปัญหานี้
23. แซงรถที่กำลังวิ่ง
    ต้องเข้าใจว่ารถคันหน้าที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วหนึ่งหากเราคิดจะแซง แน่นอนว่าความเร็วของรถเราต้องมากกว่า เมื่อหักลบกับความเร็วคันหน้าก็จะได้ระยะทางที่ต้องใช้ในการแซง นั่นก็คือ แซงรถกำลังวิ่งครั้งหนึ่งต้องใช้เวลามากกว่าปกติ ทางที่ดีไม่แน่ใจอย่าแซงจะดีกว่า
24. แซงระทางชัน
    หากเป็นรถที่บรรทุกของหนักและวิ่งช้ากว่าเรา การแซงจะใช้เวลาสั้นลงอย่างมาก แต่พึงระวังรถสวนเลนตรงข้าม ซึ่งจะวิ่งลงทางลาดด้วยความเร็วสูง
25. อย่าเร่งรถหากกำลังถูกแซง
    จะเป็นการผิดมารยาทอย่างยิ่ง หากรถของคุณที่กำลังถูกแซงเร่งเครื่องหนีด้วยความเร็วเพิ่มขึ้น เมื่อเห็นว่ารถคันขวาของคุณกำลังจะถูกแซง ต้องชะลอความเร็วรถของคุณ เพื่อให้รถของเขาแซงขึ้นไปได้อย่างรวดเร็ว
26. ขับรถขึ้นเขา
    กรณีขับรถขึ้นเขาหรือเนิน แน่นอนว่ารถของคุณต้องใช้กำลังเพิ่มมากขึ้น การขับต้องเปลี่ยนมาใช้เกียร์ต่ำกว่าเดิมเพื่อรักษาความเร็วของรถ การเปลี่ยนเกียร์ต้องเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพราะขณะที่เรายกเท้าออกจากคันเร่งแล้วเหยียบคลัตช์เปลี่ยนเกียร์
27. ขับรถลงทางลาด
    ขึ้นเนินใช้เกียร์ต่ำเพื่อรักษาความเร็วของรถ ลงทางลาดก็ต้องใช้เกียร์ต่ำ เพื่อลดอัตราเร็วของรถแทนการใช้เบรค เพราะหากใช้เบรคในทางลาดมากไป จะทำให้เบรคลื่นและจับไม่อยู่เนื่องจากมีความร้อนสูง
28. ออกตัวของรถขึ้นทางชัน
    ผู้ขับขี่มือใหม่มักมีปัญหาการออกตัวขึ้นเนินแล้วรถเคลื่อนที่ถอยหลัง ต้องฝึกให้มีความสามารถในการใช้คันเร่งคลัตช์และเบรคมือพร้อมกัน โดยใช้เท้าซ้ายกดแป้นคลัตช์ลง โยกคันเกียร์จากเกียร์ว่างไปยังเกียร์หนึ่ง ใช้เท้าขวากดแป้นคันเร่ง โดยกดให้มากกว่าการออกตัวบนพื้นระดับ และต้องกดอย่างสม่ำเสมอตามปริมาณชองความชัน
29. จดรถหันหน้าขึ้นเนิน
    หลีกเลี่ยงได้ควรหลีก แต่ถ้าจำเป็นต้องจอดให้ชิดขอบขวาทางด้านซ้ายมากที่สุด หมุนพวงมาลัยให้ล้อหันไปทางขวาป้องกันการเคลื่อนที่ถอยหลังเป็นเกียร์หนึ่งและใช้เบรคมือให้มั่นคง
30. จอดรถหันหน้าลงเนิน
    หมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายให้ล้อหันเข้าหาขอบทางเท้า ป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนที่เดินหน้าใส่เกียร์ถอยหลังและเบรคมือไว้
31. ทางโค้งนะ
     ให้สังเกตป้ายจราจรว่า โค้งไปทางขวาหรือทางซ้าย การเข้าโค้งให้ใช้เบรคเท้าควบคุมความเร็วของรถ เลือกเกียร์ให้เหมาะสมใช้คันเร่งอย่างระมัดระวังและบังคับรถให้ชิดเส้นแบ่งถนนทางขวาไว้จนตลอดทางโค้ง
32. ระวังหลุดโค้ง
    ปรกติทางโค้งจะมีทั้งป้ายจราจรเตือนล่วงหน้าและมีเสาหลักปักตามระยะโค้ง แต่หากผู้ขับขี่ไม่ควบคุมความเร็วเข้าโค้งด้วยความโค้ง โค้งธรรมดาก็จะกลายเป็นโค้งหักศอกให้ได้รับอันตรายให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ
33. ความดันลมของยางสัมพันธ์กับพวงมาลัย
    ยางรถยนต์จะต้องมีความดันลมในปริมาณพอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไปถ้ามากไปทำให้ยากสึกหรอ ไม่ยึดถนนและลื่นไถลทางโค้งแต่หากความดันลมยางน้อยไปจะทำให้ยางร้อนจัดยางไม่เกาะถนนและสึกหรอง่าย สังเกตว่าความดันลมยางน้อยไปเมื่อพวงมาลัยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
34. เบรคบนทางโค้งอันตราย!
    ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบรคบนถนนทางโค้ง เพราะจะทำให้รถยนต์เสียการทรงตัวและมีแนวโน้มลื่นไถลหลุดโค้งออกไป
35. รถใหญ่บังรถเล็ก
    รถใหญ่ที่วิ่งตามทางแยกอาจบังรถเล็กอีกคันที่กำลัง แซงขึ้นมา หากเราตัดสินใจเลี้ยวออกจากทางแยกแบบปัจจุบันทันด่วน โดยไม่ระวังให้ดี อาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
36. ถอยหลังทางไหนหมุนพวงมาลัยทางนั้น
    การถอยหลังรถแรก ๆ อาจจะดูไม่ถนัด ต้องอาศัยประสบการณ์ โดยมีเคล็ดลับอยู่ว่าจะให้ส่วนท้ายของรถหันไปทางไหนก็หมุนพวงมาลัยไปทางนั้น ส่วนผู้ขับก็เอี้ยวตัวไปดูข้างหลังโดยมือถือพวงมาลัยมือหนึ่ง อีกมือพาดบนพนักพิงผู้โดยสาร
37. ข้อห้ามของการถอยหลัง
    อย่าใช้วิธีกลับรถโดยการถอยหลังจากถนนซอยสู่ถนนใหญ่ เมื่อไม่แน่ใจว่าปลอดภัย อย่าถอยหลังและอย่าถอยหลังเป็นระยะทางไกล ๆ โดยไม่จำเป็น
38. ไฟเขียวให้รีบไปแน่หรือ
    การขับรถบริเวณทางแยกที่มีไฟจราจรกำกับและเป็นไฟเขียวอยู่ ไม่ตะบี้ตะบันเหยียบคันเร่งให้ทันสัญญาณไฟ ควรสังเกตดูว่าไฟเขียวนั้นนานแค่ไหน แล้วสังเกตดูว่ารถจากถนนฝั่งหนึ่งมีแถวยาวเท่าใน และควรขับรถเว้นระยะกับรถคันหลังดูว่าหากเบรคกะทันหัน กรณีไม่ทันไฟเขียว แล้วคุณจะไม่ถูกชนท้าย
39. รีบร้อนไปไหนยังไฟแดงอยู่เลย
    ผู้ขับขี่หลายรายต้องเสียอกเสียใจทุกวันนี้ เพราะประสบอุบัติเหตุ เนื่องจากชอบออกรถในขณะที่สัญญาณไฟยังเป็นไฟแดงหรือเหลืองอยู่ โดยคาดเดาล่วงหน้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนสัญญาณไฟจราจร ในขณะที่รถอีกฝั่งยังไฟแดงอาศัยลูกติดพันจากไฟเขียว ผลก็คือ ประสานงากันจังเบ้อเริ่ม เดือดร้อนกันทั่วหน้า
40. ถูกจี้ท้ายและเตือนด้วยไฟสูงต่ำ
    หลายคนคงเคยเจอนักเลงกลางถนน โดยขับขี่อยู่ ดี ๆ  ก็มีรถคันอื่นมาจี้ท้ายแถมใช้ไฟสูงต่ำยิงใส่ท้ายรถ อย่าตกใจและห้ามตอบโต้เด็ดขาด เพียงแต่ค่อย ๆ เปลี่ยนช่องจราจรไปทางซ้าย เพื่อให้เกิดช่องว่างให้รถคันหลังผ่านไปได้
41. กระจกหน้ารถต้องสะอาดอยู่เสมอ
    กระจกหน้ารถที่สะอาด เมื่อเวลาฝนตก ใบปัดน้ำฝนจะทำความสะอาดได้เร็วมากขึ้นมาก ควรลดอัตราเร็วลงหากอุปกรณ์ปัดน้ำฝนทำงานไม่ทันกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก
42. ไม่แตะเบรคขณะรถลื่นไถล
    กรณีรถขาดการทรงตัว เมื่อเจอสภาพถนนมีน้ำมันเกลื่อนกลาดอย่าตกใจยกเท้าออกจากคันเร่งและหมุนพวงมาลัยไปในทิศทางเดียวกับทิศทางการลื่นไถลโดยห้ามแตะเบรคโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
43. อย่าเพิ่งดับไฟขณะรุ่งสาง
    การรีบดับไฟเมื่อขับรถตอนรุ่งสางไม่เป็นผลดีต้องให้แน่ใจว่าคุณสามารถมองเห็นถนนและผู้ขับขี่คันอื่นอย่างชัดเจนเสียก่อนจึงค่อยดับไฟ กรณีรถมีสีคล้ำ ดำ หรือน้ำเงิน ซึ่งไม่ค่อยสะท้อนแสงต้องเปิดไฟแต่เนิ่น ๆ เมื่อเริ่มจะมือและปิดไฟช้ากว่าคันอื่นเมื่อเวลารุ่งสาง
44. การใช้น้ำมันหล่อลื่น
    การเติมน้ำมันหล่อลื่นต้องรักษาปริมาณให้ถึงขีดกำหนดของรถเสมอ น้ำมันหล่อลื่นเป็นสารอันตรายต่อผิวหนัง ควรล้างมือทันทีและเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันให้ห่างไกลจากมือเด็ก
45. รถเสียระวังเสียงรถ
    เมื่อรถคุณเกิดเสียกลางทางแล้วมีอาสาสมัครเสนอตัวให้ความช่วยเหลือ หากคุณไม่แน่ใจพฤติกรรมอย่าลงจากรถเด็ดขาด ให้ผู้ผ่านกระจกแล้วล็อคประตูไว้วานให้ช่วยไปโทรศัพท์หาผู้ที่คุณต้องการจะติดต่อด้วยจะดีที่สุด
46. อุปกรณ์พยาบาลที่ควรจะมีในรถ
    เพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉน คุณควรมีสิ่งเหล่านี้ไว้ในรถ พลาสเตอร์, ผ้าพันแผล ขวดพลาสติคใส่น้ำสะอาดไว้ กรรไกร คีม ผ้าพันแผลแบบยืดหดได้ โคมไฟฟ้า เหรียญ(สำหรับโทรศัพท์)
47. เด็กเล็กก็ควรคาดเข็มขัด
    อุบัติเหตุหลายครั้งเด็กเล็กต้องเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจำนวนมาก ในเมืองนอกได้ออกแบบที่นั่งเฉพาะสำหรับเด็กไว้อย่างมาตรฐาน โดยเฉพาะมีเข็มขัดนิรภัยให้เด็กคาดเข็มขัดด้วย สำหรับเมืองไทยที่ยังไม่มีที่นั่งเด็กแพร่หลาย ก็อาศัยพี่เลี้ยงหรือผู้โดยสารไปด้วยคอยดูแล อย่าปล่อยให้เด็กเป็นอิสระเด็ดขาด
48. ทำยังไงเมื่อกระจกหน้ารถแตกละเอียด
    อุบัติเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นได้เมื่อรถแล่นด้วยความเร็วสูง ต้องควบคุมสติให้ได้ผ่นอคันเร่งหาที่จอดอย่าปลอดภัย หากระดาษหนังสือพิมพ์มาคลุมหน้าปัดรถและกระโปรงรถใกล้กระจกหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้เศษกระจกปลิวเข้ามา แล้วจึงหาอะไรมาค่อย ๆ ทุบกระจกที่แตกค้างออก แล้วขับรถไปหาอู่ซ่อมโดยเร็ว
49. เบรคจม
    อุบัติเหตุบางครั้งเกิดจากการที่อยู่ดี ๆ คันเบรคก็จมซึ่งทำให้การหยุดรถทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เป็นเช่นนี้ให้ลดความเร็วลงค่อย ๆ ปั๊มเบรคสองสามครั้งเพื่อให้ความร้อนไปไล่ฟองอากาศและความชื้นจากนั้นจึงค่อย  ๆ ขับไปด้วยควมเร็วเป็นปกติ
50. น้ำมันท่วม
    รถที่จอดนิ่งอยู่สตาร์ทหลายทีก็ไม่ติด แถมยังได้กลิ่นฉุนของน้ำมันแสดงว่าน้ำมันได้ท่วมคาร์บูเรเตอร์ แล้วควาคอยอย่างน้อยสิบนาที เพื่อให้น้ำมันระเหยแล้ว เริ่มติดเครื่องใหม่อีกครั้ง
51. อาการแบตเตอรี่หมด
    อีกกรณีที่สตาร์ทเครื่องรถไม่ติด แล้วไฟหน้ารถไม่สว่างให้สันนิษฐานได้ว่าแบตเตอรี่หมดให้ชาร์จใหม่ได้ทันที หากทำไม่เป็นก็ตามช่างหรือติดต่อศูนย์ที่คุณซื้อรถก็ได้
52. ความร้อนสูงผิดปกติ
    สังเกตุได้จาก เข็มชี้ระดับความร้อนที่หน้าปัดขึ้นสูงกว่าธรรมดา อย่าขับรถต่อไป เพราะจะทำให้รถได้รับความเสียหายร้ายแรงได้ ต้องหาที่ร่มจอดรถ เปิดฝากระโปรงทิ้วไว้รอจนกว่าเครื่องยนต์จะเย็นลงในระดับปรกติจึงค่อยเดินทางต่อไป กรณีที่เกิดจากน้ำมในหม้อน้ำพร่องไป ต้องรออย่างน้อย 10 นาทีถึงจะเปิดฝาหม้อน้ำเติมน้ำได้
53. เบรคเสียกะทันหัน
    เบรคที่ถูกใช้มากในบางกรณี อาจทำให้เสียหรือผ้าเบรคสึกมีผลให้รถเบรคไม่ค่อยอยู่ วิธีแก้ไขคือ ให้จอดรถชั่วคราวเพื่อให้เบรคพักการทำงานระยะหนึ่ง
54. หัดเปลี่ยนยางไว้บ้างก็ดี
    กรณีที่เราขับรถออกทางไกลที่เปลี่ยว ๆ ห่างจากปั๊มน้ำมันข้างทางแล้วเกิดยางรั่วยางแตก การเปลี่ยนยางอะไหล่ต้องใช้ความสามารถของตนเอง การศึกษาวิธีการเปลี่ยนจากคู่มือ และหัดลองเปลี่ยนขณะจอดรถอยู่ให้คล่อง มิฉะนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว มีหวังคุณได้นอนหง่าวอยู่ในรถคนเดียวทั้งคืนแน่
55. ฟิวส์ซองบุหรี่
    ระบบไฟฟ้าของรถใช้ฟิวส์เป็นตัวเชื่อมไฟ หากฟิวส์เกิดขาดกะทันหัน แก้ปัญหาได้โดยใช้กระดาษตะกั่วห่อซองบุหรี่หรือกระดาษห่อช็อกโกแล็ตมาหุ้มฟิวส์นั้นแล้วนำไปใช้ต่อฟิวส์นั้นก็จะทำงานได้ชั่วคราว
56. ยางโดนตะปูเจาะ
    ประการแรกให้เปลี่ยนยางอะไหล่ทันที ถ้าไม่มียางอะไหล่ สำรวจยางเส้นนั้นว่ามียางในหรือไม่ ประการสำคัญไม่ควรดึงตะปูออกก่อนจะทำให้เวลาขับเคลื่อนรถ ยางจะแตก ระเบิดได้ ควรขับออกไปช้า ๆ อย่างระมัดระวังประคับประคองให้ไปถึงอู่หรือปั๊ม ทำการปะให้เรียบร้อย
57. ตรวจสนิมรถด้วยแม่เหล็ก
    รถปัจจุบันส่วนใหญ่ตัวถังจะฉาบด้วยยากันสนิม ซึ่งเป็นฉนวน บริเวณที่กระเทาะแล้วเกิดสนิม จะทำให้เกิดแรงดึงดูดกับแม่เหล็ก
58. เรื่องของสีรถ
    หากสีรถเกิดถลอกและเป็นสนิม หรือมีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับสีรถไม่ควรลงมือแก้ไขเอง เช่น เช็ด ขูด ควรนำรถเข้าอู่ ให้ช่างที่มีความชำนาญดูแล มิฉะนั้นจะทำให้เกิดรอยด่างของสีรถได้
59. รถติดอย่าหยุดติดรถ
    ปัญหารถติดบ้านเราเลี่ยงกันไม่พ้น ขณะขับรถไปต่อคันที่หยุดข้างหน้าควรเว้นช่วงไว้ให้ห่างพอที่รถจะเคลื่อนตัวไปซ้ายขวาได้ เป็นการเผื่อเอาไว้หากเกิดอุบัติเหตุรถชนท้ายด้านหน้ารถจะได้ไม่ถูกอัดก๊อปปี้เสียหายทั้งรถและชีวิต
60. ยางอะไหล่ต้องพร้อมเสมอ
    รถเกือบทุกคันก็มักมียางอะไหล่ติดไว้เสมอ อย่าลืมที่จะตรวจสอบสภาพของยางอะไหล่บ้าง เป็นต้นว่าลมยางต้องมีความดันมาตรฐานเสมอ ไม่อ่อนจนเกินไป เพราะหากเกิดฉุกเฉินขึ้นมา ยางอะไหล่รั่วหรือแตก สถานการณ์จะเลวร้ายไปกันใหญ่
61. กรวยเติมน้ำมันฉุกเฉิน
    น้ำมันแห้งสนิทกลางทาง ซื้อน้ำมันใส่แกลลอนมาแต่ดันลืมติดกรวยมาด้วย ไม่ยากเลย เพียงหาถ้วยใส่น้ำอัดลมพลาสติค ผ่าแล้วม้วนเป็นรูปกรวยมาเป็นที่เติม หรือใช้กระดาษทบกันหลาย ๆ ชั้น มาพับเป็นรูปกรวยก็ได้พอจะแก้ขัดไปครั้งหนึ่ง

ข้อมูลจาก :  xtrailclub

จังหวัดยอดนิยม
- กรุงเทพมหานคร
- เชียงใหม่
- เชียงราย
- ลำปาง
- ลำพูน
- ชลบุรี
- ระยอง
- นนทบุรี
- ปทุมธานี
- ขอนแก่น
- นครราชสีมา
- บุรีรัมย์
- สุรินทร์
- อุบลราชธานี
ค้นหาตามลักษณะรถ
- รถทั้งหมด
- รถเก๋ง
- รถกระบะ
- รถตู้
- รถโบราณ
- รถคลาสสิค
- รถบรรทุก
- เครื่องจักรกลหนัก
- รถบัส
- รถตู้
- จักรกลการเกษตร
- เครื่องมืออุปกรณ์
- อะไหล่รถยนต์
ค้นหาตามยี่ห้อ
- TOYOTA
- HONDA
- MITSUBISHI
- MAZDA
- BMW
- ISUZU
- ERCEDES-BENZ
- CHEVROLET
- ยี่ห้ออื่น
ค้นหาตามปีรถ
- ปี 2012 ขึ้นไป
- 2009-2011
- 2006-2008
- 2003-2005
- 2000-2002
- 1997-1999
- 1994-1996
- 1991-1993
- ต่ำกว่า 1990
ค้นหาตามราคา
- น้อยกว่า 2 แสน
- 2 - 4 แสน
- 4 - 6 แสน
- 6 - 8 แสน
- 8 แสน - 1 ล้าน
- 1 - 1.5 ล้าน
- 1.5 - 2 ล้าน
- มากกว่า 2 ล้าน
สมัครสมาชิกเว็บไซต์
สมัครสมาชิกเต็นท์รถ
เจ้าของเต็นท์รถเข้าสู่ระบบ
เว็บเพื่อนบ้าน
 
มีคำถาม ข้อสงสัย สอบถามข้อมูล คลิกที่นี่
ตลาดรถบรรทุกมือสองปกาสิต  
ท่านสามารถติดต่อทีมงาน ตลาดรถบรรทุกมือสองปกาสิต ได้ที่ 080-7964423 แฟกซ์ -
ที่อยู่ ดี ดี ประทายรถบ้าน อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา 30180 Copyright © 2012 ตลาดรถบรรทุกมือสองปกาสิต All right reserved | Design By Truck1sell